วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

GUI DD for Windows

โปรแกรมดีดี (dd) สำหรับวินโดว์

http://www.si-linux.co.jp/wiki/silinux/index.php?DDforWindows

เมื่อพูดถึงเครื่องมืออรรถประโยชน์ตัวหนึ่งบนลีนุกซ์ หนึ่งในนั้นต้องมี dd (Disk dump) รวมอยู่ด้วย แต่สำหรับผู้ใช้วินโดว์แล้ว ผมก็ยังนึกไม่ออกว่ามีโปรแกรมเล็กๆ ตัีวไหนที่มีขีดความสามารถใกล้เคียงกัน แม้นว่าจะมีเจ้าโปรแกรมดีดี (dd) ที่ถูกพอร์ตให้สามารถทำงานได้บนวินโดว์ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้วินโดว์คงไม่คุ้นเคยกับการติดต่อกับผู้ใช้ผ่านบรรทัดคำสั่ง (CLI: Command Line Interface) แบบลีนุกซ์ โชคดีที่มีโปรแกรมดีดีสำหรับวินโดว์ที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกส์ (GUI: Graphics User Interface)

โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับผู้พัฒนาระบบเอ็มเบดเด็ดที่ต้องการคัดลอกหรือสำรองข้อมูลที่อยู่ใน CompactFlash

แม้ว่าข้อมูลบนเว็บไซต์จะเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ตัวโปรแกรมสามารถทำงานในโหมดภาษาอังกฤษได้

รุ่นล่าสุด (0.99) รองรับ CompactFlash ที่มีขนาดใหญ่ด้วย ตัวโปรแกรมเป็นไฟล์ EXE เพียงไฟล์เดียว ไม่ต้องมีการติดตั้ง ทำให้สามารถย้ายไปใช้เครื่องไหนก็ได้

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Open Source Project Management Tool

OpenProj เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการโครงการซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี และเปิดเผยซอร์สโค้ด
 
http://openproj.org/

แต่ที่น่าสนใจ คือ มีเวอร์ชันบนลีนุกซ์

ก่อนหน้านี้เคยใช้อีกตัวนึง คือ

http://www.openworkbench.org

รู้สึกไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ ประกอบกับเห็นหยุดพัฒนาไปนาน สุดท้ายก็เลยหันกลับไปใช้ MS Project

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเพิ่งเห็นออกเวอร์ชันใหม่ ยังไม่ได้ลอง

Sony Linux-based devices

หากต้องการรู้ว่าผลิตภัณฑ์รุ่นไหนของ Sony ที่ใช้ลีนุกซ์บ้าง สามารถดูได้จาก

http://www.sony.net/Products/Linux/Download/search.html

เว็บไซต์ดังกล่าว ทางโซนี่ใช้สำหรับเพยแพร่ซอร์สโค้ดตามข้อตกลง GPL และ LGPL

จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์หลายตัวเลยทีเดียวของโซนี่ที่ใช้ลีนุกซ์ ที่น่าสนใจคือ แล้วผลิตภัณฑ์แต่ละตัวใช้ตัวประมวลผลของอะไร?

คงต้องลองดาวน์โหลดเคอร์เนลมาดูกัน อย่างไรก็ตาม มีใครเคยแฮ็กค์ฮาร์ดแวร์เพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งแล้วได้บ้าง?

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บทความเกี่ยวกับ NXP ARM MCU

เป็นภาษารัสเซีย แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย กูเกิ้ล

http://www.google.com/translate?u=http%3A%2F%2Fwww.rlocman.ru%2Freview%2Farticle.html%3Fdi%3D39581&hl=en&ie=UTF8&sl=ru&tl=en

หากพูดถึงภาพรวมของไมโครคอนโทรเลอร์ที่อยู่บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรม ARM ที่ผลิตโดยบริษัท NXP แล้ว บทความนี้ให้รายละเอียดไว้ได้ครบถ้วนเลยทีเดียว ตั้งแต่รุ่นแรก จนถึงรุ่นใหม่ๆ ที่จะออกสู่ตลาดในเร็วๆ นี้

ในช่วงท้ายๆ มีกล่าวถึง LPC1000 ซึ่งเป็น ARM Cortex-M3 ว่าจะออกในปี 2008 นี้

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

LPC1000 - NXP ARM Cortex-M3 based

หลังจากที่มีข่าวว่า NXP (Phillips Semi) ได้ไลเซนต์ Cortex-M3
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดมีข่าวลืออกมาว่า MCU
รุ่นใหม่ที่อยู่บนพื้นฐาน ARM Cortex-M3 นั้น จะเป็นซีรีส์ ที่มีชื่อ
LPC1000 ซึ่งจะออกมาให้เห็นกันราวๆ ครึ่งปีหลังจนถึงต้นปีหน้า

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Low-cost ARM Cortex-A8

http://beagleboard.org/

- High performance with newest ARM (Cortex-A8)
- Built-in DSP
- DVI-D LCD Monitor interface
- Low cost 149 USD @ Single Qty. (Rev. B)
- Open both hardware and software (Linux-based)

Next stable hardware revision (Rev. C) will be available Q3'2008

Embedded 7'' LCD Touch Panel Computer

http://www.embeddedarm.com/products/board-detail.php?product=TS-TPC-7390

- ARM9 based Cirrus Logic MCU
- a few second Linux boot
- ...

Intelligent Display Module

http://www.luminarymicro.com/products/mdl-idm.html

- ARM Cortex-M3
- 2.8" Color LCD with Touch Screen
- PoE
- Open source hardware & firmware
- Ready product available @ Digi-Key @ 199 USD

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

FCC, CE and NCC Certification

OpenMoko Neo FreeRunner Hardware info.

http://wiki.openmoko.org/wiki/Neo_FreeRunner_GTA02_Hardware

สิ่งที่น่าสนใจคือ รายงานการทดสอบ FCC, CE และ NCC (อยู่ในส่วนท้ายๆ)

ป.ล. มีตัวอย่างการทดสอบแบตเตอรี่ด้วย